เรื่องน่ารู้

  • 1 . ถ้ามีไฟเตือน รูปแบตเตอรี่บนหน้าปัทม์รถ ควรทำอย่างไร ?

    โดยปกติแล้ว เราจะเห็น เจ้าสัญญาณเตือนรูปแบตเตอรี่บนหน้าปัทม์รถยนต์ เมื่อบิดกุญแจในจังหวะแรก ไฟเตือนจะต้องสว่างนิ่งและเมื่อเครื่องยนต์ถูกสตาร์ท และทำงานแล้ว ไฟเตือนจะดับลงตลอดการขับ หากเครื่องยนต์ยังทำงานอยู่แล้วมีไฟเตือนรูปแบตเตอรี่สว่างขึ้น ถือเป็นสัญญาณอันตรายอย่างร้ายแรง ต้องอธิบายก่อนว่าการที่มีไฟเตือนรูปแบตเตอรี่ขึ้นนั้น มิได้เป็นการเตือนว่าแบตเตอรี่ไฟหมดหรือเต็ม แต่เป็นการแสดงถึงความผิดปกติของระบบไดชาร์จ ทำให้เครื่องยนต์และอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องใช้ไฟจากแบตเตอรี่อย่างเดียว ทีนี้เรามาดูกันว่าถ้ามี่ไฟเตือนขึ้นควรทำอย่างไร อันดับแรกให้สันนิษฐานไว้ก่อน 2 กรณี ดังนี้
    1)ไดชาร์จเสีย หรือ 2) ระบบการประจุไฟฟ้าเสีย
    สายพานไดชาร์จขาด ให้รีบจอดรถในที่ปลอดภัยเพื่อลงมาตรวจดูสายพานเป็นอย่างแรก ถ้าสานพานไม่ขาด แสดงว่าระบบไดชาร์จเสีย แต่ยังมีไฟฟ้าสำรองในแบตเตอรี่อยู่ สามารถขับต่อไปได้ในระยะทางสั้นๆ 5-10 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่และเครื่องยนต์ ดังนั้นจึงควรปิดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้าลงทั้งหมด เช่น แอร์ เครื่องเสียงฯลฯ เพื่อให้มีการ ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ช้าและน้อยลง เพื่อที่จะนำพารถไปถึงศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุดได้ เพื่อทำการซ่อมแซม แต่ทางที่ดีควรหมั่นตรวจสภาพของไดชาร์จ สายพาน ให้อยู่ในสภาพปกติทุกครั้งก่อนเดินทาง และเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการตามระยะเวลาที่คู่มือรถกำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อการขับขี่อย่างมั่นใจตลอดทางนะครับ
  • 2. การถอดแบตเตอรี่อย่างถูกวิธี และปลอดภัย

    การเปลี่ยนแบตเตอรี่ เป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยจะได้ทำบ่อยนักเพราะแบตเตอรี่ 1 ลูกหากมีการดูแลรักษาที่ดีจะสามารถใช้ได้นาน 2-3ปีเลยทีเดียว การเปลี่ยนแบตเตอรี่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากอะไร แต่ก็ต้องทำให้ถูกวิธีเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ระบบควบคุม และอุปกรณ์ต่างๆซึ่งปัจจุบันล้วนเป็นระบบคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น หากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่เอง ควรทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ ต้องดับเครื่องก่อนเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกครั้ง หรือดึงกุญแจออกก่อน ในการถอดแบตเตอรี่ ต้องถอดขั้วลบ (-) ออกก่อนเสมอ เพื่อป้องกัน การลัดวงจร และเมื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่เข้าไป ต้องใส่ขั้วบวก (+) ก่อนเสมอ ถ้าจะให้จำง่ายๆก็คือ “ถอดลบ (-) ใส่ (+)” เพื่อป้องกันการลัดวงจรและก่อนให้เกิดความเสียหายแก่รถของคุณ
  • 3. การต่อพ่วงแบตเตอรี่ฉุกเฉิน

    ในบางครั้งเราหรือเพื่อนร่วมทาง อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าไฟหมด อาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ลืมปิดไฟหน้า ลืมปิดอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้า จนไฟหมด หรือแบตเตอรี่เสื่อม อาจจะต้องมีการต่อพ่วงแบตเตอรี่จากรถคันอื่น เราจึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้การต่อพ่วงอย่างถูกวิธีดังนี้ ดูประเภทรถที่เหมาะสมกัน ให้ดูจากขนาดแบตเตอรี่เป็นหลัก คือรถที่จะนำมาต่อพ่วงต้องมีขนาดเท่าใกล้เคียงกันหรือใหญ่กว่ารถที่ไฟหมด ยกตัวอย่างเช่น ถ้ารถที่ไฟหมดเป็นรถกระบะคันใหญ่ จะนำรถเก๋งขนาดเล็กมาต่อพวงไม่ได้เพราะจะสตาร์ทเครื่องไม่ติด เนื่องจากขนาดของไดสตาร์ทของรถกระบะมีขนาดใหญ่ต้องการกำลังไฟมากกว่านั้นเอง สายที่นำมาใช้ต่อพ่วงต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร และไม่ยาวจนเกินไป จำนวน 2 เส้น เพื่อที่จะสามารถนำพาประจุไฟฟ้ามาใช้ในการสตาร์ทได้อย่างเต็มที่ เราจะสังเกตได้จากอุณหภูมิที่ตัวสายพ่วงขณะสตาร์ทจะร้อนมาก ถ้าใช้สายเส้นเล็กอาจจะทำให้สตาร์ทไม่ติดและสายไฟอาจละลายขาดได้เลยทีเดียว ควรมีสีที่ต่างกัน สีละเส้นพื่อป้องกันการต่อสลับขั้ว ที่นิยมใช้ คือ แดง(+) ดำ(-) นำรถมาจอดคู่กัน ให้ด้านที่มีแบตเตอรี่หันเข้าหากันเพื่อสะดวกในการต่อพ่วง และควรจอดในลักษณะที่ปลอดภัยด้วย การต่อขั้วบวก(+) สายพ่วงเส้นสีแดงเข้ากับขั้วบวกของแบตเตอรี่ลูกที่ไฟหมด อีกข้างหนึ่งของสายต่อ กับขั้วบวกของแบตเตอรี่ลูกที่มีไฟ การต่อขั้วลบ(-) สายพ่วงเส้นสีดำ เข้ากับขั้วลบ(-) ของแบตเตอรี่ลูกที่มีไฟ อีกข้างหนึ่งของสายพ่วงต่อเข้ากับโครงรถหรือเสื้อสูบเครื่องยนต์ของคันที่ไฟหมด เพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟ เมื่อสตาร์ทรถยนต์คันที่ไฟหมด ติดแล้ว จึงค่อยถอดสายพ่วงแบตเตอรี่ทวนตามลำดับที่กล่าวมาข้างต้น
  • 4. จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหญ่ แอมป์สูงดีไหม

    หากแบตเตอรี่หมดสภาพ หรือถึงเวลาต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ จะเปลี่ยนเป็นแบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นดีไหม ถ้าใช้แอมป์สูงขึ้นไดชาร์จจะพังหรือเปล่า เป็นคำถามที่หลายคนหนักใจเพราะกังวลว่าจะทำให้เครื่องและระบบไฟฟ้าเสียหาย แต่ที่จริงแล้วการเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ลูกใหญ่ขึ้น แอมป์สูงขึ้น จะทำให้รถยนต์ของคุณมีกำลังไฟฟ้าสำรองมากขึ้น มีกำลังไฟสตาร์ทแรงขึ้น และทำให้ไดชาร์จทำงานหนักน้อยลง ไม่พังง่ายฉะนั้นเมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ ควรคำนึงว่าหากต้องเพิ่มเงินไม่กี่ร้อยบาท แต่ได้สิ่งที่คุ้มค่ากว่ากลับคืนมา แต่ต้องดูพื้นที่ด้วยว่าสามารถวางแบตเตอรี่ลูกที่ใหญ่กว่าได้หรือไม่
  • 5. ข้อพึงระวังในการใช้งานแบตเตอรี่

    หลีกเลี่ยงการใช้งานหนักเกินไป เช่น ใช้ไฟ้ฟ้าจากแบตเตอรี่จนไฟหมดสตาร์ทเครื่องไม่ได้เป็นประจำจะทำให้แบตเตอรี่มีอายุสั้นลง หลีกเลี่ยงการอัดไฟมากเกินไป การอัดไฟมากเกิดไปจะทำให้อายุแบตเตอรี่สั้น ดังนั้นควรอัดไฟด้วยวิธีที่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ร้อนจัด อย่าให้อุณหภูมิของน้ำกรดสูงเกิน 60?C รักษาระดับน้ำกรดให้พอดี ขณะใช้งานน้ำกรดจะค่อยๆ ลดระดับลง ดังนั้นต้องเติม "น้ำกลั่น" เท่านั้น อย่าปล่อยให้ระดับน้ำกรดต่ำกว่าแผ่นธาตุ และระวัง! อย่าเติมจนล้น ห้ามใช้งานใกล้เปลวไฟ เนื่องจากในแบตเตอรี่มีปฏกิริยาเคมีทำให้เกิดก๊าชไฮโดรเจน และอ็อกซิเจนขึ้น อาจเกิดอันตรายได้ รักษาแบตเตอรี่ให้แห้ง และสะอาด ควรรักษาสถาพภายนอกของแบตเตอรี่ให้แห้งและสะอาด เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วและผุกร่อน
  • 6. วิธีการบำรุงรักษา

    หมั่นตรวจดูรูระบายอากาศที่จุก อย่าให้สิ่งสกปรกไปอุดตันโดยเด็ดขาด กรณีขั้วสกปรกหรือมีคราบขาว (ขี้เกลือ) เกาะให้ล้างทำความสะอาดด้วนน้ำร้อนและทาด้วยจาระบี หรือวาสลีนรอบๆ ขั้วของแบตเตอรี่ หมั่นตรวจดูปริมาณน้ำกรดในแบตเตอรี่อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งให้อยู่ในระหว่างระดับ UPPER และ LOWER ใช้นำกลั่นเติมเท่านั้นห้ามใช้น้ำกรดเติมเด็ดขาด ควรตรวจดู เรกูเรเตอร์ และระบบไฟชาร์ตของรถยนต์ทุกๆ 6 เดือน แบตเตอรี่ที่ถูกเก็บไว้นานๆ โดยไม่ได้ใช้หรือใช้งานไม่สม่ำเสมอ ให้นำไปอัดไฟอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง ในกรณีแบตเตอรี่เสียหรือไฟหมดให้นำไปตรวจเช็คที่ร้านตัวแทนจำหน่าย
  • 7. เมื่อเราใช้แบตเตอรี่ไปได้สัก 1 ปีครึ่ง หรือ 2 ปี แบตเตอรี่จะเริ่มเสื่อมสภาพ หากสังเกตดีๆ เมื่อแบตเตอรี่ใกล้เสื่อมสภาพจะมีสัญญาณเตือนดังนี้

    เครื่องยนต์เริ่มสตาร์ทติดยาก ไฟหน้าไม่ค่อยสว่าง ระบบกระจกไฟฟ้าทำงานช้าลง ระบบไฟฟ้าในรถทำงานผิดปรกติ เมื่อมีสัญญาณเตือนดังนี้ ก็เข้าร้านตัวแทนจำหน่าย GS แบตเตอรี่ เพื่อเปลี่ยนใหม่ได้เลยครับ
  • 8. ลักษณะและสาเหตุการเสียของแบตเตอรี่

    เพื่อให้สามารถยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาและวิเคาระห์ถึงลักษณะและสาเหตุของการเสียของแบตเตอรี่ที่เสียและชำรุดก่อนกำหนดอายุการใ้ช้งาน โดยสามารถวิเคราะห์ได้จากลักษณะและสาเหตุการเสียของแบตเตอรี่ ดังนี้
    • โอเวอร์ชาร์จ (Over Charge)
    • ซัลเฟชั่น (Sulfation)
    • โอเวอร์ดีสชาร์จ (Over Discharge)
    • ผนังแตก (Broken Partition)
  • 9. ติมน้ำกลั่นให้ ‘แบต’ ชาร์จพลังรถ

    ในช่วงเวลาที่ต้องเร่งรีบเดินทางไปทำธุระหรือประชุมกับลูกค้า หลายคนคงเคยเจอปัญหาเฉพาะหน้าเกี่ยวกับรถยนต์ ทั้งเรื่องเครื่องยนต์เริ่มสตาร์ทติดยาก ไฟหน้ามีความสว่างน้อยลง หรือระบบไฟฟ้าภายในรถยนต์เริ่มทำงานผิดปกติ โดยปัญหาเหล่านี้นับว่าเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงสภาพความเสื่อมของแบตเตอรี่ หรือกำลังไฟของแบตเตอรี่ต่ำซึ่งเราสามารถป้องกันและเตรียมความพร้อมให้กับแบตเตอรี่ก่อนการเดินทางทุกครั้งได้ด้วยการเติม ‘น้ำกลั่น’ เพื่อลดปริมาณน้ำกรดที่กัดกร่อนแผ่นธาตุให้เจือจางลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้แบตเตอรี่เสื่อมคุณภาพเร็ว และควรตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นเป็นประจำเพื่อความปลอดภัยและยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้อีกนาน
    การเติมน้ำกลั่นให้กับแบตเตอรี่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องตรวจเช็คเป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยสามารถแบ่งลักษณะการเติมได้ตามประเภทของแบตเตอรี่ ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ แบตเตอรี่ชนิดเปียก (Lead Acid) ควรตรวจเช็คและเติมน้ำกลั่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และแบตเตอรี่ชนิดแห้ง (MF – Maintenance Free) ควรตรวจเช็คและเติมน้ำกลั่นเป็นประจำทุกเดือน โดยสังเกตระดับน้ำกลั่นได้จากช่องตาแมว (Indicator) โดยควรเติมน้ำกลั่นให้ได้ตามระดับที่กำหนด ไม่ควรเติมน้อยกว่าระดับเพราะจะทำให้ปริมาณน้ำกรดเข้มข้นเป็นสาเหตุให้แผ่นธาตุถูกกัดกร่อนเร็วขึ้น และไม่ควรเติมมากกว่าระดับที่กำหนด เพราะจะทำให้น้ำกรดล้นออกมาจากแบตเตอรี่และเกิดคราบขี้เกลือเกาะบริเวณขั้วแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การส่งกระแสไฟฟ้าระหว่างแบตเตอรี่และอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ทำงานได้ไม่เต็มที่
    เติม ‘น้ำกลั่น’ ชาร์จพลังแบต เปิดฝาจุกด้านบนของแบตเตอรี่ทั้ง 6 ฝา เพื่อเช็คสภาพน้ำกลั่นว่าอยู่ในระดับใด ถ้าน้ำกลั่นอยู่ในระดับต่ำกว่าที่กำหนด หรือลดลงจนไม่ท่วมแผ่นทองแดง ควรเติมน้ำกลั่นลงไปให้ท่วมแผ่นทองแดงประมาณ 10-15 มิลลิเมตร อย่าเติมน้ำกลั่นให้ล้นออกมาจากแบตเตอรี่ หากน้ำกลั่นล้นออกมานอกแบตเตอรี่ให้รีบนำผ้ามาเช็ดให้แห้งทันที มื่อเติมเสร็จเรียบร้อยให้ปิดฝาจุกทั้ง 6 ฝาให้เรียบร้อย
    นอกจากนี้ แบตเตอรี่จะเริ่มเสื่อมสภาพเมื่อเริ่มใช้ประมาณ 1-2 ปี ดังนั้น การตรวจเช็คสภาพของแบตเตอรี่ให้มีความพร้อมอยู่เสมอจึงเป็นวิธีการยืดอายุการใช้ที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตัวเองง่ายๆ เป็นประจำทุกอาทิตย์
  • 10. หมดห่วงเรื่อง “จัมพ์” แบต เวลาแบตหมด

    เวลาขับรถบนท้องถนน ความปลอดภัยในการเดินทางเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด แต่บ่อยครั้งก็มักเกิดปัญหาไม่คาดคิดโดยเฉพาะปัญหาแบตเตอรี่หมด ที่ทำให้ระบบเครื่องยนต์หยุดชะงัก และเป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขเฉพาะหน้า ด้วยวิธีการต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “จัมพ์แบตเตอรี่” เพื่อให้เกิดกำลังไฟเพียงพอที่จะทำให้ระบบต่างๆ ของเครื่องยนต์ทำงาน และสามารถเดินรถต่อไปได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
    ปัญหาของแบตเตอรี่หมดระหว่างการขับรถบนท้องถนนอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสายต่อไดชาร์จหลวม น้ำกลั่นหมด แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ หรือกำลังไฟของแบตเตอรี่มีไม่เพียงพอ การจัมพ์แบตเตอรี่เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยจะต้องมีสายพ่วงแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์เสริม และต่อสายพ่วงกับรถยนต์อีกคันหนึ่งในการชาร์จไฟ เพื่อให้ระบบได้ทำงาน หลังจากนั้นจึงนำรถยนต์ไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ และเช็คสภาพความพร้อมของเครื่องยนต์จากช่างผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งหนึ่ง
    “การจัมพ์แบตเตอรี่สามารถทำได้เอง แต่ต้องระมัดระวัง เพราะแบตเตอรี่ มีส่วนประกอบหลัก คือ น้ำกรดที่มีคุณสมบัติเป็นตัวการกัดกร่อนพื้นผิว ซึ่งขณะที่แบตเตอรี่กำลังทำงานจะเกิดก๊าซไฮโดรเจนสะสมในตัวแบตเตอรี่ จึงควรระวังในเรื่องประกายไฟ เพราะอาจเกิดอันตรายระหว่างจัมพ์แบตเตอรี่ได้”
    เมื่อแบตเตอรี่หมด ให้ปิดสวิตช์กุญแจและอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดของรถ และขอความช่วยเหลือจากรถยนต์ที่มีแบตเตอรี่ เพื่อต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ นำหัวสายพ่วงของสายพ่วงสีแดงซึ่งเป็นสายขั้วบวกมาต่อกับขั้วบวก (+) ของรถยนต์ที่แบตเตอรี่หมด หลังจากนั้นนำหัวต่ออีกข้างต่อเข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่รถยนต์อีกคัน นำหัวสายพ่วงของสายพ่วงสีเขียวหรือสีดำซึ่งเป็นสายขั้วลบ ของรถยนต์ที่แบตเตอรี่หมดมาต่อกับขั้วลบ (-) ของแบตเตอรี่รถยนต์อีกคัน ควรตรวจเช็คให้แน่ใจว่าสายพ่วงต่อแน่นหนา ต่อจากนั้นนำสายหัวต่อที่เหลือต่อเข้ากับส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องยนต์หรือตัวถังรถยนต์ ของรถยนต์ที่แบตเตอรี่หมด โดยควรต่อให้ห่างจากแบตเตอรี่มากที่สุด จากนั้นสตาร์ทเครื่องยนต์คันที่แบตเตอรี่มีไฟ ทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วเร่งเครื่องยนต์เล็กน้อยเพื่อให้แบตเตอรี่มีการไหลเวียนของประจุไฟฟ้า หลังจากนั้น เริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์คันที่แบตเตอรี่หมด จากนั้นเร่งเครื่องยนต์ประมาณ 1,500 - 2,000 รอบ/นาที เพื่อเช็คดูว่าประจุไฟเข้าหลังจากการชาร์จหรือไม่ ซึ่งถ้าเครื่องยนต์ไม่ดับแสดงว่าการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่สำเร็จ ถอดสายพ่วงสีเขียว หรือสายขั้วลบ (-) ออก จากตัวถังรถคันที่แบตเตอรี่หมด และตามด้วยหัวต่อขั้วลบของแบตเตอรี่ที่มีไฟ จากนั้นจึงถอดสายสีแดงหรือสายขั้วบวก (+) จากรถคันที่แบตเตอรี่หมด และถอดหัวสายพ่วงจากแบตเตอรี่ที่มีไฟ ปิดฝาช่องเติมน้ำกลั่นให้ครบทุกช่อง และควรสตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หรือขับรถไปเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คเครื่องยนต์และเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ ปลอดภัยเวลา “จัมพ์แบตเตอรี่” ไม่สตาร์ทเครื่องยนต์ระหว่างต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ เวลาต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ อย่าสูบบุหรี่หรือทำสิ่งใดๆ และระวังอย่าให้สายพ่วงแบตเตอรี่สัมผัสกัน เพราะอาจทำให้เกิดประกายไฟได้ ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ทั้งขั้วบวกและขั้วลบ โดยใช้น้ำร้อนราดที่ขั้วแบตเตอรี่ทั้ง 2 ขั้ว เพื่อขจัดคราบเกลือที่เกาะติดอยู่ ตรวจเช็คกำลังไฟของแบตเตอรี่ก่อน เพราะแบตเตอรี่ขนาด 6 โวลต์ หรือ 24 โวตล์ ไม่สามารถนำมาพ่วงกับแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ได้ เพราะอาจทำให้แบตเตอรี่เกิดการระเบิดขึ้นได้ ตรวจเช็คสภาพแบตเตอรี่ก่อนทุกครั้ง โดยดูจากที่วัดของแบตเตอรี่ หรือใช้ที่วัดความถ่วงจำเพาะ(HYDROMETER) บริเวณด้านข้างของแบตเตอรี่ ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น
    • - สีเขียว แสดงว่า ประจุไฟฟ้าเต็ม
    • - สีน้ำตาล หรือสีดำ แสดงว่า ประจุไฟหมด
    • - สีเหลือง แสดงว่า แบตเตอรี่หมดอายุการใช้งาน